วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตัวเลขในภาษาอังกฤษ

ตัวเลขในภาษาอังกฤษ…เขาอ่านกันอย่างไร ?

ปกติการอ่านตัวเลขทั่วไป เราจะมีคำว่า “and” เชื่อมระหว่างหลักร้อยกับหลักสิบ แต่ถ้าไม่มีหลักสิบ ก็จะใช้เชื่อมระหว่างหลักร้อยกับหลักหน่วยแทน อาทิเช่น

101 a/one hundred and one
410 four hundred and ten
521 five hundred and twenty-one
1,539 a/one thousand five hundred and thirty-nine
11,749 eleven thousand seven hundred and forty-nine
50,000 fifty thousand
600,000 six hundred thousand
1,000,000 a/one million

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนมากๆ อย่างคำว่า “billion” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน จะหมายถึงหนึ่งพันล้าน (1,000,000,000) แต่แบบอังกฤษจะหมายถึง หนึ่งล้านล้าน (1,000,000,000,000) เช่น ผมบอกว่า I have one billion baht in my bank account. ผมมีเงินในบัญชีอยู่ 1 พันล้านบาท (หรืออาจหมายถึง 1 ล้านล้านบาท ถ้าใช้แบบอังกฤษ) เอ๊ะ! ว่าแต่...ชาตินี้จะได้พูดประโยคนี้กับเขาบ้างไหมเนี่ย?

นอกจากการอ่านตัวเลขข้างต้น เรายังสามารถอ่านตัวเลขแบบแปลกๆ อย่างอื่นได้อีก เช่น

2,300 twenty-three hundred (หรือ two thousand three hundred)
250,000 a quarter of a million (a quarter คือ หนึ่งในสี่ ดังนั้น 1 ใน 4 ของ 1,000,000 จึงหมายถึงเลข 250,000)
500,000 half a million
750,000 three-quarters of a million

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์น่าสนใจบางคำที่แสดงถึงตัวเลข อาทิเช่น

- couple (อ่านว่า คับเพิ่ล) = 2 (คู่ หรือแปลว่าคู่รักก็ได้): A young couple were walking hand in hand along the beach. คู่รักคู่หนึ่งกำลังเดินจับมือกันไปตามชายหาด

- dozen (อ่านว่า ดัสเซ่น) = 12: The number of deaths has risen to more than two dozen. จำนวนคนตายเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 24 คนแล้ว

- score (อ่านว่า สกอร์) = 20 : Our coach was escorted by a score of policemen. โค้ชของเราถูกคุมตัวไปโดยตำรวจ 20 คน

- gross (อ่านว่า กุโรส) = 144 : two gross of candles หมายถึง เทียนจำนวน 288 เล่ม

โปรดสังเกตว่า ต่อให้มีตัวเลขนำหน้าคำว่า dozen, score หรือ gross ก็ไม่ต้องเติม s ที่คำเหล่านี้ เช่น two dozen (ไม่เขียนว่า two dozens), three gross (ไม่ใช้ว่า three grosses)

แต่บางทีคำศัพท์ดังกล่าวอาจจะไม่ได้กล่าวถึงจำนวนตัวเลขที่แน่นอนก็ได้ แต่ให้ความหมายว่ามากหรือน้อย ยกตัวอย่างเช่น You'll be all right in a couple of days. ไม่ได้หมายถึง คุณจะหายดีภายใน 2 วันแต่ถ้าแปลเป็นไทย ผมจะแปลว่า คุณจะหายดีภายใน 2-3 วัน เพราะ a couple of days มีความหมายโดยนัยว่า a few days แปลเป็นไทยว่า ประมาณสองสามวัน

นอกจากนี้ คำว่า score, hundred, thousand และ million สามารถลงท้ายด้วย s เพื่อแสดงให้เห็นภาพว่ามากมายขนาดไหน เช่น
Scores of victims were killed. เหยื่อหลายสิบคนถูกฆ่าตาย,
hundreds of people คนจำนวนมาก (หลายร้อย),
many thousands of tourists นักท่องเที่ยวนับพันคน,
millions and millions of ants มดเป็นล้านล้านตัว

โปรดสังเกตว่าจะมี of คั่นก่อนคำนามพหูพจน์ แต่ถ้าจะใช้คำว่า hundred, thousand และ million ตามด้วยคำนามพหูพจน์เลยก็ไม่ต้องเติม s หลัง hundred, thousand และ million เช่น
two hundred (= 200) trees ห้ามใช้ two hundreds,
several thousand years ห้ามใช้ several thousands years

การอ่านปีค.ศ.
การอ่านปี ค.ศ. เรามักจะอ่านแยกทีละ 2 ตัว คือ 2 ตัวแรกและ 2 ตัวหลังจนถึงปี ค.ศ.1999 เช่น
1066 อ่านว่า ten sixty-six
1800 อ่านว่า eighteen hundred
1784 อ่านว่า seventeen eighty-four
1902 อ่านว่า nineteen hundred and two หรือ nineteen-O-two (อ่านเลขศูนย์ว่า “โอ”)

ส่วนปี ค.ศ.2000 ขึ้นไปจะอ่านแบบตัวเลขปกติก็ได้ เช่น
2007 อ่านว่า two thousand and seven
2015 อ่านว่า two thousand and fifteen หรือ twenty fifteen ก็ได้เช่นกัน

การอ่านเศษส่วน
การอ่านเศษส่วนนั้น มักจะแบ่งออกเป็น 2 แบบง่ายๆ คือ แบบที่เป็นคำเฉพาะ เช่น
1/2 อ่านว่า a half
1/4 อ่านว่า a quarter หรือ a fourth

นอกนั้นให้อ่าน “เศษ”แบบตัวเลขธรรมดา (อาจใช้ a หรือ an แทน one) และ “ส่วน” ให้อ่านแบบลำดับที่ เช่น
1/5 อ่านว่า a fifth หรือ one-fifth
1/8 อ่านว่า an eighth
1/16 อ่านว่า a sixteenth หรือ one-sixteenth

แต่ถ้าเศษมากกว่าหนึ่งต้องเติม s ที่ส่วนด้วย เช่น
3/4 อ่านว่า three-quarters หรือ three-fourths
3/16 อ่านว่า three-sixteenths
2/3 อ่านว่า two-thirds
1 1/2 อ่านว่า one and a half
2 3/8 อ่านว่า two and three-eighths

การอ่านจุดทศนิยม
เรามักจะอ่านตัวเลขหน้าจุดทศนิยมเหมือนการอ่านตัวเลขทั่วไป และอ่าน “จุดทศนิยม” ว่า point ส่วนตัวเลขหลังจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว โดยไม่ต้องมี hundred, thousand,…แสดงหลักอีก เช่น 5.2 อ่านว่า five point two หรือ 123.36 อ่านว่า one hundred and twenty-three point three six

บวก ลบ คูณ หาร อ่านอย่างไร?
-บวก (+) ใช้คำว่า “add” หรือ “plus” เช่น
7 + 5 = 12 อ่านว่า Add 7 and 5 to make 12. หรือ 7 plus 5 equals 12.

-ลบ (-) ใช้คำว่า “minus” หรือ“subtract” เช่น
7 - 5 = 2 อ่านว่า 7 minus 5 is 2. หรือ If you subtract 5 from 7, you get 2. หรือ 7 subtract 5 leaves 2.

-คูณ (x) ใช้คำว่า “multiply” หรือ “times” (ภาษาพูด) เช่น
7 x 5 = 35 อ่านว่า 7 multiplied by 5 is 35. หรือ 7 times 5 equals 35. หรือ อาจใส่ s ที่หลังตัวเลขตัวหลัง เช่น Seven Fives are 35.

-หาร (÷) ใช้คำว่า “divide” เช่น
6 / 3 = 2 อ่านว่า 6 divided by 3 is 2. หรือ If you divide 6 by 3, you get 2.

การอ่านเวลาแบบง่ายๆ
การอ่านเวลา เราควรจะอ่านแยกชั่วโมงกับนาที เช่น
10.25 a.m. อ่านว่า ten twenty-five in the morning.
03.00 p.m. (บ่ายสามโมง) อ่านว่า three o’clock in the afternoon.
08.30 p.m. (สองทุ่มครึ่ง) อ่านว่า eight thirty in the evening. (อ่านว่า “อีฟนิ่ง” อย่าอ่านว่า “อีเวนนิ่ง” นะครับ)

โดย a.m. ย่อมาจากภาษาละตินว่า ante meridiem แปลว่า ก่อนเที่ยง (in the morning) โดยใช้แสดงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวันใช้

ส่วน p.m. ย่อมาจากภาษาละตินว่า post meridiem แปลว่า หลังเที่ยง โดยหลังเที่ยงวันถึงหกโมงเย็นใช้ p.m.= in the afternoon แต่ถ้าหกโมงเย็นไปจนถึงเที่ยงคืนใช้ p.m. = in the evening

สำหรับเที่ยงวันพอดีเราใช้ at noon และเที่ยงคืนพอดี ให้ใช้ at midnight ซึ่งฝรั่งส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับเวลาแบบ 12 ชั่วโมงมากกว่าการนับเวลาแบบ 24 ชั่วโมง (twenty-four hour clock) ที่คนไทยนิยมใช้ครับ


201 = two hundred first
202 = two hundred second
203 = two hundred third
204 = two hundred fourth
300 = three hundredth
400 = four hundredth
500 = five hundredth


จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=krufiat&month=16-12-2007&group=3&gblog=3

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียงความ

การเรียงความ

[แก้ไข] ความหมายของเรียงความ

         เรียงความ เป็นงานเขียน ร้อยแก้ว ชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับขั้นและสละสลวย

[แก้ไข] องค์ประกอบของเรียงความ

         มี ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ

[แก้ไข] คำนำ

        เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา

การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้

  • ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ
  • ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
  • ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย
  • อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้

[แก้ไข] เนื้อเรื่อง

        เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้

การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้

  • ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ
  • ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ
  • เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ

[แก้ไข] สรุป

        เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้

  • เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)
  • อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น
  • ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้
  • ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก

[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนเรียงความ

[แก้ไข] การเลือกเรื่อง

        หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว ควรเลือกตามความชอบ หรือความถนัดของตนเอง

[แก้ไข] การค้นคว้าหาข้อมูล

        อาจทำได้โดยการค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น

[แก้ไข] วางโครงเรื่อง

        เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดการ จัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่น

  1. จัดลำดับหัวข้อตามเวลาที่เกิด
  2. จัดลำดับหัวข้อจากหน่วยเล็กไปสู่หน่วยใหญ่
  3. จัดลำดับตามความนิยม

        โครงเรื่องของงานเขียนควรจัดหมวดหมู่ของแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน โครงเรื่องเปรียบเสมือนแปลนบ้าน ผู้สร้างบ้านจะต้องใช้แปลนบ้านเป็นแนวทางในการสร้างบ้าน การเขียนโครงเรื่องจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เขียนเรียงความเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าไม่เขียนโครงเรื่องหรือไม่วางโครงเรื่อง เรียงความอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

[แก้ไข] การเรียบเรียง

        ตามรูปแบบของเรียงความ ตามองค์ประกอบ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป (บางคนอาจเขียนคำนำหลังสุดก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน)

[แก้ไข] ลักษณะของเรียงความที่ดี

        นอกจากต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป แล้วยังต้องมีลักษณะดังนี้อีกด้วย

[แก้ไข] เอกภาพ

        คือ ในแต่ละย่อหน้า ความคิดสำคัญต้องมีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันกับหัวข้อเรื่อง

[แก้ไข] สัมพันธภาพ

        คือ ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่อง โดยจะต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี จัดลำดับย่อหน้าอย่างมีระบบระเบียบ เรียบเรียงด้วยคำเชื่อมที่เหมาะสม

[แก้ไข] สารัตถภาพ

        คือ มีเนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่องโดยในแต่ละย่อหน้า ประโยคสำคัญต้องชัดเจน ประโยคขยายมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเน้นย้ำให้ประโยคใจความสำคัญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • ถวัลย์ มาศจรัส. นวัตกรรมทางการศึกษา ชุด บทเรียนแบบโปรแกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ธารอักษร, ๒๕๔๘
  • นิติภูมิ นวรัตน์. ภาษาไทย ฉบับเตรียมสอบ . กรุงเทพฯ : มิตรภาพการพิมพ์, ๒๕๔๙
  • เสนีย์ วิลาวรรณ, สุระ ดามาพงษ์, ชัยวัฒน์ สีแก้ว หนังสือหลักการใช้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๓ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน , ว.พ. ๒๕๔๔
  • วิกิพีเดียไทย

http://galyani.panyathai.or.th/wiki/index.php/การเรียงความ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เปลี่ยนskin web อีกแล้ว

เปลี่ยนดีกว่า เก่าแล้วน่าเบื่อ

นัทเค้าวางแผนจะเขียนเวบไซท์ลวงตา ส่งโรงเรียน
ก็ลองดูนะครับ เอาใจช่วย

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Guatemala

in this photo released by Guatemala's Presidency on Monday May 31, 2010, a sinkhole covers a street intersection in downtown Guatemala City, Monday May 31, 2010. A day earlier authorities blamed the heavy rains caused by tropical storm Agatha as the cause of the crater that swallowed a a three-story building but now say they will be conducting further studies to determine the cause. Last April 2007, another giant sinkhole in the same area killed 3 people.(AP Photo/Guatemala's Presidency, Luis Echeverria)

aptopix20guatemala20sinkhole1671286166_rp600x350-2010-06-2-12-58.jpgmost-amazing-hole-in-the-world-guatemala-sink-hole-2010-06-2-12-58.jpg

Sinkhole%2CGuatemala-2-2010-06-2-12-58.jpg

Sinkhole%2CGuatemala-2010-06-2-12-58.jpg