ห.ร.ม. ของจำนวนใดคือตัวหารที่มีค่ามากที่สุดที่ไปหารจำนวนเหล่านั้นได้ลงตัว หมายความว่าหารแล้วได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม ในกรณีของเศษส่วน ห.ร.ม. ของเศษส่วนใดก็คือตัวหารที่มีค่ามากที่สุดที่ไปหารเศษส่วนเหล่านั้นแล้วได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนเต็มนั่นเอง และเนื่องจากในการหารด้วยเศษส่วน วิธีการคือเอาตัวหารมากลับเศษเป็นส่วนแล้วคูณกับตัวตั้ง ให้จินตนาการว่า ตัวหารถูกกลับเศษเป็นส่วน ! เพราะฉะนั้นส่วนของตัวหารจะถูกกลับขึ้นมาเป็นเศษ แล้วคูณกับเศษส่วนที่เป็นตัวตั้ง ถ้าต้องการให้คูณแล้วได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม ก็ต้องให้จำนวนที่เป็นส่วนของตัวตั้งทุกจำนวนไปหารจำนวน ที่ถูกกลับขึ้นมาเป็นเศษได้ลงตัว ดังนั้น ในการหา ห.ร.ม. ของเศษส่วน จึงต้องหา ห.ร.ม. ของเศษ และหา ค.ร.น. ของส่วน ทดลองและตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอ้างตำราเล่มไหน ตำราทุกเล่มมนุษย์เป็นผู้เขียนขึ้น และเราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้บางอย่างด้วยตนเองได้ ตัวอย่างเช่น ห.ร.ม. ของ 2/3, 4/5, 6/7 คือ 2/105 เพราะ 2 เป็น ห.ร.ม. ของ 2, 4, 6 105 เป็น ค.ร.น. ของ 3, 5, 7 เมื่อนำตัวหารไปกลับเศษเป็นส่วน แล้วคูณกับตัวตั้ง จะหารกันได้ลงตัว ดังนี้ |
1. หา หรม ของเศษ ของเศษส่วนทั้งหมด(ที่โจทย์กำหนดมาน่ะ)
2. หา ครน ของส่วน ของเศษส่วนทั้งหมด(ที่โจทย์กำหนดมาน่ะ)
3. ก็เอามาซ้อนกัน จบ เช่น
2/5 4/15 แล้วก็ 6/15
ก็หา หรม ของ 2,4 แล้วก็ 6 = 2
แล้วก็มาหา ครน ของ 5,15,15 = 15
ก็ได้ 2/15
การหา ครน มันก็กลับกันคือหา ครน ของเศษ แล้วก็ หรม ของส่วนค่ะ
ไม่เข้าใจโว้ย
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณมาก เราพยายามคิดหาเหตุผลแบบคุณแล้วก็รู้สึกว่ามันค่อยข้างซับซ้อน แต่พอมาอ่านที่คุณเขียน เราก็ได้รู้ว่าเราลืมนิยามตรงที่ว่า หารลงตัว ไปเสียสนิท
ตอบลบแต่เราก็ขอเสมอมุมมองที่เรามองหาเหตุผลเอาไว้อีกแบบ จากความสัมพันธ์
HxL=|AxB| เมื่อ H คือ หรม, L คือ ครน และ AกับB คือ สองจำนวนเบื้องต้นที่ต้องการหาหรมและครน (ประโยคสัญลักษณ์ข้างบนถ้าลองพิสูจน์แบบยกตัวอย่างแยกตัวประกอบดูจะเข้าใจง่าย)ดังนั้น H=(|AxB|)/L แต่ยังไงก็ดี เราก็ยังรู้สึกว่าเหตุผลแรกที่คุณยกมาอธิบายค่อนข้างจะเคลียร์กว่าเหตุผลที่เราคิดอยู่มากเลย
ถ้า ตัวเศษ เป็น 40,45,48 จะหา ห.ร.ม.ยังไงหรอค่ะ?¿
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ